Just-in-Time คืออะไร
Just-in-Time คือ ทางเลือกหนึ่งในการจัดการ Supply Chain ที่ช่วยลด Overhead Cost การจัดการสินค้าคงคลังแบบ JIT เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้สามารถสั่งซื้อ และ รับวัตถุดิบ หรือ ผลิตภัณฑ์ จากซัพพลายเออร์ในปริมาณที่ช่วยให้คุณสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าแบบเรียลไทม์โดยไม่ต้องมีสินค้าคงคลังมากเกินไป แต่การจะทำ JIT ได้อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าต้องครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น การคาดการณ์ความต้องการของตลาด การขนส่ง หรือแม้แต่คุณภาพของ supplier ก็ส่งผลต่อการทำ JIT ด้วย
วัตถุประสงค์ของการทำ JIT
แน่นอนว่าการที่บริหารทุกอย่างให้พอดี ไม่ขาด ไม่เกิน ต้นทุนมาอันดับหนึ่ง สิ่งที่ได้ตามมาคือ การลด waste ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน และ การเพิ่มประสิทธิภาพ
● ลด deadstock : การผลิตมากเกินความต้องการของตลาด สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ และ เมื่อเกิดการสะสมของสินค้าที่ขายไม่หมด จะทำให้เกิดของต้นทุนของเสียได้ ซึ่ง JIT จะช่วยลดการผลิตที่เกินความจำเป็น นำมาซึ่ง deadstock ที่ลดลง
● ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการสินค้าคงคลัง : ค่าใช้จ่ายในการทำคลังสินค้านั้นสูงอยู่แล้ว การยิ่งมีสินค้าเยอะเกิดไปนั้นเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์สำหรับคลังสินค้า เก็บเท่าที่พอขายให้ลูกค้าทันเวลา และ เพียงพอดีที่สุด
● ทำให้กระแสเงินสดดีขึ้น : JIT นั้นทำให้เราไม่ต้องลงเงินก้อนใหญ่ไปการซื้อสินค้ามาสต็อก หรือ การเช่าคลังสินค้าขนาดใหญ่มาเพื่อเก็บของ ทำให้คุณมีเงินก้อนเพื่อมาหมุนให้ธุรกิจมากขึ้น
● ทำให้ควบคุมการผลิตได้มากขึ้น : ด้วยการคาดการณ์ที่แม่นยำที่เกี่ยวกับความต้องการการผลิต และ ความต้องการสินค้าของลูกค้า ซึ่งทำให้พวกเขามีความยืดหยุ่น และ ควบคุมกระบวนการผลิตได้มากขึ้น
ข้อสังเกตในการทำระบบ JIT
● ความเสี่ยงที่สินค้าจะขาดตลาด
● การที่ทุกอย่างจะตรงเวลา Just-in-Time ได้ กระบวนการต่าง ๆ ต้องแม่นยำ ไม่ว่าจะการขนส่ง การจัดหา การผลิต หรือแม้แต่ กระบวนการเล็กน้อยในการผลิต การคาดการณ์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความเสี่ยงได้
● รบกวนกระบวนการอื่น ๆ ใน Supply Chain
● การที่กระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง ไม่สามารถทำได้ตามแผนและเวลาที่วางไว้ ส่งผลต่อทุก ๆ กระบวนการได้ เพราะหากไม่ได้มีการสำรองสินค้าหรือวัตถุดิบไว้มาก ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจที่สั่งสินค้ามาจากโรงงาน เป็นวัตถุดิบในการผลิต หากเครื่องจักรเกิดขัดข้องส่งผลต่อการผลิตทำให้หยุดชะงัก ส่งผลให้สินค้าหรือวัตถุดิบขาดช่วง
● การคาดการณ์ความต้องการของตลาดต้องแม่นยำ : หากคาดการณ์ไว้น้อยไป สินค้าขาดตลาด ผลเสียไม่ใช่แค่เรื่อง Opportunity Cost แต่อาจทำให้ลูกค้าเปลี่ยนไปซื้อสินค้าของคู่แข่งได้เลย
6 ขั้นตอนสำคัญเพื่อเริ่มทำ Just-In-Time
1. วางแผน : ต้องพัฒนาแผนการผลิตสินค้า เช่น ปริมาณสินค้าที่คุ้มค่าที่จะผลิตเท่าไหร่ ใช้เวลาในการผลิตเท่าไหร่ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปให้ Supplier ให้เตรียมสินค้า ศึกษา Process ในการผลิต แล้วตัดสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือ กระบวนการที่ใช้เวลาแต่ไม่ได้สร้างมูลค่าออก
2. สื่อสารแผนให้คนในองค์กรทราบ : มีแผนแล้ว ทุกคนในทีมต้องเข้าใจทิศทางขององค์กรไปในทางเดียวกัน จะทำให้การทำงานราบรื่นขึ้น การเตรียมความพร้อมทีมจึงสำคัญ การประชุมสื่อสาร และ การฝึกทักษะอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ
3. รวบรวมข้อมูล และ ตรวจสอบระดับสินค้าคงคลังในปัจจุบัน : ข้อมูลสต็อกปัจจุบันที่ถูกต้อง คือการเริ่มต้นว่ากระบวนการอื่น ๆ ใน Supply Chain มีความถูกต้อง
4. สื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องใน supply chain : ในการจัดการสินค้าคงคลังแบบ JIT ผู้ที่เป็น Supplier นั้นมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของ JIT มีการแชร์ข้อมูลระหว่างกัน แจ้งประสานงานสถานการณ์ต่าง ๆ กันโดยไม่ผิดบังนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
5. สร้างระบบส่งสัญญาณ : เพื่อให้กระบวนการต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างราบรื่น จำเป็นต้องสร้างสัญญาณการแจ้งเตือนทั้งตัวเรา และ Supplier ว่า สินค้ากำลังจะหมดสต็อก หรือ ถึงเวลาเติมสต็อก เป็นต้น ในปัจจุบันการการสื่อสารผ่านระบบ Digital ช่วยเรื่องความสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีสินค้าหลาย SKU
6. จัดทำ KM (Knowledge Management) : ตรวจสอบการทำ JIT ด้วยการบันทึกไว้อย่างดี และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนรับรู้ในกระบวนการทำอย่างชัดเจน รวมถึงทำการวัดประสิทธิภาพของ JIT และ เปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น เมื่อกระบวนการทุกอย่างนิ่งแล้ว ควรทำข้อมูลเก็บไว้ เพื่อให้ ผู้ที่มารับช่วงต่อจากเราสามารถเริ่มงานได้ง่ายขึ้น
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor
Powered by Froala Editor